top of page
marketingwell

ชัดเจน? ข้อต่อพ่วง KTK มีวิธีติดตั้ง บำรุงรักษาอย่างไร!


ชุดข้อต่อพ่วง KTK รุ่นมาตรฐาน และรุ่นซุปเปอร์ล็อค เป็นข้อต่อพ่วงที่ผู้ใช้ อู่ต่อ ร้านอะไหล่ และเจ้าของกิจการขนส่งล้วนนิยมใช้ คุณภาพเป็นที่ยอมรับมานานกว่า 20 ปี เรียกได้ว่าเป็นข้อต่อรถพ่วงที่สิงห์รถบรรทุกใช้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เรามาดูรายละเอียดการติดตั้ง และการบำรุงรักษาได้เลยครับ

5 ขั้นตอนการติดตั้งชุดต่อลากจูง KTK

1. ติดตั้ง หน้าแปลน เข้ากับโครงยึดชุดข้อต่อลากจูง

  • ใช้ชุดโบลท์และสกรูเกรด 10.9 หรือสูงกว่า ขนาด M20 จำนวน 4 ตัว

  • นัทที่ใช้ควรเป็นเกรด 10.0 แบบล็อกกันคลายในตัว

  • ขันอัดชุดข้อต่อลากจูงเข้าโครงสร้างด้านท้ายรถ ด้วยแรงขัน Torque 600 Nm.

***ห้ามสวมใส่หรือติดตั้งหน้าแปลน กับโครงยึดข้อต่อลากจากด้านท้ายรถ***

2. ชุดแกนข้อต่อพ่วงต้องหล่อลื่นแกนข้อต่อพ่วงด้วยจารบี หรือเทียบเท่าให้ทั่วตัวแกนข้อต่อ สวมแกนข้อต่อพ่วง เข้ากับชุดหน้าแปลนจากทางด้านท้ายของโครงยึด โดยสวมเข้าให้ตรงตามรูของหน้าแปลนและสวมแหวนรองน็อตหัวผ่า เบ้ารองรับลูกยาง ลูกยางวงแหวาน(ยางโดนัท) จากด้านในของโครงยึดข้อต่อรถพ่วง

3. ทาจารบีให้ทั่วบริเวณเกลียวด้านท้ายของแกนข้อต่อพ่วงเพื่อป้องกันการเกิดสนิม หมุนอัดน็อตหัวผ่าเข้ากับเกลียวด้านท้ายของชุดแกนข้อต่อพ่วง โดยขันน็อตหัวผ่าให้แน่นพอประมาณและสังเกต รูเจาะบนเกลียวของแกนข้อต่อพ่วงต้องตรงกับร่องของน็อตท้ายแกนพอดี

4. สวมปิ้นล็อคเข้าไปในร่องบริเวณปลายน็อตหัวผ่า ซึ่งร่องของน็อตหัวผ่าจะต้องตรงกับรูเจาะของแกนข้อต่อพ่วง เมื่อใส่จนสุดแล้วให้ถ่างปลายของปิ้นล็อคแยกออกจากกันทั้งสองด้านเพื่อล็อคป้องกันคลายหรือป้องกันการเคลื่อนตัวออกของน็อตหัวผ่าหลังจากนั้น ให้ทำการสวมใส่ฝายางกันฝุ่นเข้าที่ท้ายแกนชุดข้อต่อพ่วง เพื่อป้องกันเศษฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าไปรวมตัวกันที่ด้านท้ายแกนชุดข้อต่อ

5. ทดสอบการทำงานของชุดข้อต่อพ่วง โดยยกด้ามโยก ขึ้นเพื่อให้ชุดกลไกเปิดการทำงาน โดยด้ามโยกจะต้องคงค้างในตำแหน่งที่โยกขึ้นแล้วสวมใส่ชุดห่วงลากเข้าไปในช่องกลไกจนกระแทกกับชุดกระเดื่องควบคุมการล็อค หลังจากนั้นชุดสลักล็อคจะเคลื่อนตัวลงมาสวมเข้ากับห่วงลากและสลักต้องสวมเข้าไปยังชุดบู้ชล่างพร้อมกับการล็อคด้านล่างจนสมบูรณ์


ขั้นตอนการตรวจเช็กและบำรุงรักษาชุดอุปกรณ์ข้อต่อรถพ่วง KTK

1. โยกก้านโยกและชุดสลักให้มาอยู่ในตำแหน่งล็อคใช้งานปกติ แล้วฉีดล้างทำความสะอาดชิ้นส่วนด้วยนํ้าสะอาดแรงดันสูง

2. ทำความสะอาดทุกๆชิ้นส่วนและอุปกรณ์ พร้อมกันนี้ต้องตรวจเช็ก ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ด้วยสายตา หากพบความบกพร่องหรือสิ่งผิดปกติ ต้องทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนและอุปกรณ์ทันที

3. ตรวจเช็กการขันอัดแน่นของชุดโบลท์ น็อตต่างๆทั้งหมดทุกๆจุดและตรวจเช็กการอัดแน่นด้วยแรงขันอัดตามข้อกำหนดจากผู้ผลิต

4. ต้องมั่นใจว่า ชุดต่อลากจูงรถพ่วง ทำงานอย่างถูกต้องและสมบูรณ์เต็มประสิทธิภาพ ทั้งในตำแหน่งการล็อคและปลดล็อค

5. ตรวจเช็กสิ่งสกปรกของบู้ชและชิ้นส่วนด้านล่างและต้องมั่นใจว่า ไม่มีสิ่งขวางกั้นการขึ้น-ลง ของชุดสลัก

6. ทางเดินของชุดสลักและบู้ชล่าง ต้องขึ้น-ลง ได้อย่างอิสระ

7. แผ่นรองรับหูลากจะต้องถูกเปลี่ยนทันที่ เมื่อพบการสึกจนมาถึงขีดบอกระดับการสึก เพราะแผ่นรองรับหูลากนี้ เป็นตัวป้องกัน “บู้ชล่าง” ไม่ให้ชำรุดหรือเสียหายจากการกระแทก ถ้าบู้ชล่างชำรุดจะทำให้การต่อชุดลากจูงรถพ่วงใสมบูรณ์และจะเป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้และที่สำคัญต้องทำการหล่อลื่นด้วยจารบีอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อลดอัตราการสึกหรอของชิ้นส่วนด้วย

8. ตรวจเช็กการหลวมตัวของชุดแกนข้อต่อพ่วง ต้องทำการตรวจเช็กในขณะที่ไม่ได้ทำการต่อชุดลากจูง โดยใช้สองมือโยกขึ้น-ลง ต้องไม่มีแรงสะท้านหรือการคลอนหลวมตัวใดๆทั้งสิ้น ถ้ามีการสั่นคลอน ต้องทำการเปลี่ยนบู้ชยางทันที

9.ตรวจเช็กการสึกขอสลักพ่วง โดยใช้เวอร์เนียร์วัดขนาดความโตของสลักพ่วง ที่จุด A ค่าการสึกหรอที่ยอมรับได้ต้อง มากกว่า 46.5 มม. ถ้าน้อยกว่าข้อกำหนดต้องทำการเปลี่ยนสลักพ่วงทันที *** ค่าการให้ตัวของสลักพ่วงในแนวดิ่ง ต้องไม่เกิน 2 มม.***

10. หลังจากทำความสะอาดแล้ว ให้ทำการหล่อลื่นที่ชุดสลักพ่วงและชุดบู้ชล่าง พร้อมกันนี้ควรอัดจารบีหล่อลื่นที่จุดอัดจารบีหล่อลื่นให้ครบทุกๆจุด

11. การชำรุดบิดเบี้ยวหรือการชำรุดของบู้ชกันสึก ต้องทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ทันที และห้ามทำการเชื่อมหรือเจาะที่บริเวณที่ห้ามเชื่อมหรือเจาะ

12. ทำการตรวจเช็กขนาดของห่วงอย่างสมํ่าเสมอ โดยทำการตรวจเช็กขนาดตามจุดที่กำหนดมา เมื่อพบว่า การสึกของห่วงลากจนถึงขนาดที่กำหนด ต้องทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ทันที

ตารางตรวจเช็กบำรุงรักษาข้อต่อพ่วง KTK


ปัจจุบันข้อต่อพ่วง KTK จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ไปตามยุคสมัย แต่ชิ้นส่วนอะไหล่ยังเหมือนเดิมสามารถใส่ทดแทนกันได้ รวมถึงความแข็งแรง ทนทาน คือจุดเด่นของข้อต่อพ่วง KTK คุณภาพยังได้รับมาตรฐาน ผ่านการการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001: 2008 และ ISO 14001:2004

ความต่าง KTK รุ่นเก่า-ใหม่ จุดที่เห็นได้ชัดมีอยู่ด้วยกัน 4 จุดได้แก่

1. ปากลำโพง รุ่นเก่า จะมีดีไซน์เป็นลักษณะเหลี่ยมสัน โลโก้ใหญ่ ส่วนรุ่นใหม่จะมีดีไซน์ปากกว้างกว่า โลโก้เป็นเส้นบางมีวงกลมล้อมรอบ ทั้งรุ่นเก่า-ใหม่ มีฐานลำโพงที่ใช้ยึดกับตัวแกนก้ามปูเท่ากัน จึงสามารถเปลี่นแทนกันได้

2. ด้ามโยกหรือด้ามล็อค รุ่นเก่ามีความยาวกว่า ส่วนรุ่นใหม่มีด้ามล็อคสั้น

3. แผ่นเพลทเนม รุ่นเก่ามีโลโก้ KTKและรายละเอียดตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กมากกว่า ส่วนรุ่นใหม่เน้นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ และแทบไม่มีรายละเอียดตัวอักษรพิมพ์เล็กเลย ส่วนโลโก้ KTK ที่เพลทมีลักษณะเหมือนกัน

4. ห่วงลาก หรือกระบอง มีขนาดแตกต่างกัน KTK รุ่นเก่ามีขนาดใหญ่กว่ารุ่นใหม่ แต่ยังคงมีความแข็งแรงทนทานเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันยังไม่มีข้อต่อพ่วงแบรนด์ไหนมาตีส่วนแบ่งทางการตลาดได้เลย เนื่องจากข้อต่อพ่วง KTK เป็นที่ยอมรับมานานกว่า 20 ปี และครองยอดขายอับดับ 1 ในประเทศไทยมาทุกยุคทุกสมัย


อัปเดตข่าวสารกับสินค้าใหม่ๆ เกี่ยวกับอะไหล่รถบรรทุกอะไหล่รถพ่วง


สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Line: @wellinterparts

Tel: 02-360-8841 ต่อ 202 หรือ 225

Facebook: WIP Well Interparts


ดู 512 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page