top of page

สาเหตุที่ทำให้รถบรรทุกระบบไฮดรอลิก “เบรกเเตกบ่อย รั่วบ่อย”


เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมรถบรรทุกระบบไฮดรอลิกถึงเบรกแตกบ่อยรั่วบ่อย ในบทความนี้ขอแยกเป็น 2 ลักษณะ เช่น การใช้งานโดยไม่บำรุงรักษา และคุณภาพของชิ้นส่วนอะไหล่ที่ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบเบรกเกิดปัญหา เราลองมาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้เบรกแตกบ่อย รั่วบ่อย เกิดจากอะไรบ้าง?


สาเหตุเกิดจากการใช้งานโดยไม่บำรุงรักษา

1. ไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก (ควรเปลี่ยนที่ระยะ 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 1 ปี)

2. ใช้น้ำมันเบรก ที่ไม่ได้คุณภาพ (แนะนำให้ใช้น้ำมันเบรกที่ DOT3 ขึ้นไป)

3. น้ำมันเบรกเริ่มเสื่อมสภาพ (ให้สังเกตน้ำมันเบรกเกิดสีดำคล้ำ)

4. ระบบน้ำมันเบรกมีความชื้น


สาเหตุจากการใช้อะไหล่ที่ไม่ได้คุณภาพ

1. ใช้อะไหล่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

2. กระบอกเบรกมีตามด

3. น้ำมันเบรกไม่ได้คุณภาพ ส่งผลทำให้กระบอกเบรกเป็นสนิม

4. น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ ทำให้ชิ้นส่วนอะไหล่ กระบอกเบรก แม่ปั๊บเบรก ลูกสูบเบรก ลูกยางเบรกเสื่อมสภาพ


นอกจากนี้คนขับรถก็มีส่วนในลักษณะใช้งานเบรกหนักๆ เช่น ขับรถลงเขา แต่ไม่ยอมใช้ Engine Brake ส่งผลทำให้ผ้าเบรกไหม้บ่อยๆ ทำให้เกิดเบรกรั่วเบรกแตก

ถ้ากำลังหาผ้าเบรกใหม่ที่จะมาเปลี่ยนให้กับ หัวรถบรรทุก และรถพ่วงทางเราได้นำเข้า Fras-le (ฟราสลี่) ผ้าเบรกเกรดพรีเมี่ยมสำหรับตลาดทดแทน ผ่านมาตรฐาน ISO 9001, ISO 14001, ISO/TS 16949, OHSAS 18001 ซึ่งมีลูกค้ากว่า 100 ประเทศทั่วโลก


จุดเด่นของสินค้า

- มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสูงทำให้การเบรกและหยุดรถได้ดี

- ทนความร้อนสูงเนื่องจากส่วนผสมของผ้าเบรกไม่มีสารใยหิน

- อายุการใช้งานยาว ทำให้ต้นทุนต่อกิโลเมตรต่ำ

- ไม่มีสารใยหิน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

- เนื้อของผ้าเบรกถูกออกแบบพิเศษเหมาะสำหรับรถเพื่อการพาณิชย์ทุกประเภทเช่น รถบรรทุก และรถเทรลเลอร์

- เหมาะกับระบบ Drum break และเพลายี่ห้อดังในตลาดเมืองไทย


ทางเวลอินเตอร์พาร์ทมีรุ่นผ้าเบรก Fras-le (ฟราสลี่) ดังนี้

  • ผ้าเบรกรถบรรทุก - ISUZU Deca 360 เพลาหน้าและหลัง, Hino mega ทั้งเพลาหน้าและหลัง

  • ผ้าเบรกรถพ่วงเพลา - Mag I, II เพลา Fuwa, Fuhe เพลา York, ror, BPW และเพลาสามมิตร

ผ้าเบรกฟลาสลี่ผ้าเบรกเกรดพรีเมี่ยมสำหรับตลาดทดแทน ลดต้นทุนต่อกิโลเมตร ประหยัดค่าใช้จ่าย หาได้แล้วตามร้านอะไหล่รถพ่วงรถบรรทุก ทั่วประเทศ



Tel: 02-360-8841 ต่อ 202 หรือ 225


ดู 378 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page