ระบบรองรับนํ้าหนักแบบถุงลมรถพ่วง รถกึ่งพ่วง จะทำงานด้วยแรงดันลมที่ได้รับมาจากปั้มลมของตัวรถ โดยแรงดันลมจะถูกส่งผ่านชุดกรองดังนํ้าและผ่านไปยังถังลมหลักโดยมีอุปกรณ์ช่วยควบคุมแรงดันให้คงที่ เช่น เซฟตี้วาล์ว กาวานา เมื่อถังลมหลักมีแรงดันเพียงพอแล้ว แรงดันจะถูกปล่อยไปยังถังใช้งานระบบเบรก/ระบบช่วงล่าง/ระบบสำรอง โดยมี Protection Valve เป็นตัวควบคุมและแยกระบบลมออกจากวงจรระบบเบรกรถ
สำหรับรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วง แรงดันลมจะถูกส่งจากถังสำรองของหัวลากโดยมีเทรลเลอร์คอนโทรลวาล์วเป็นตัวควบคุมและแรงดันลมจะไหลผ่านจุดต่อ เช่น มือเสือหรือข้อต่อต่างๆ แล้วแรงดันลมของรถเทรลเลอร์จะถูกกักเก็บไว้ในถังลมสำหรับระบบเบรกให้มีเพียงพอต่อการใช้งานระบบเบรกไว้ก่อนเสมอ เมื่อแรงดันเพียงพอแล้ว แรงดันจะถูกปล่อยไปยังถังใช้งานระบบช่วงล่าง/ระบบสำรอง โดยมี Protection Valve เป็นตัวควบคุมแรงดัน แรงดันที่ใช้งานในระบบรองรับนํ้าหนักจะมีประมาณ 7-9บาร์
ในวงจรลมที่ใช้ในระบบรองรับนํ้าหนักแบบถุงลม สามารถเลือกใช้งานได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวรถหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง แต่ส่วนใหญ่แล้ววงจรลมจะออกแบบเป็นแบบ 2 สาย (Dual Pipe line) โดยแยกควบคุมเป็นด้ายซ้ายและขวา โดยใช้วาล์วปรับระดับเป็นตัวแยกวงจร แรงดันในถุงลมทั้งหมดจะมีความสมดุลย์หรือแรงดันเท่ากันทุกจุดทั้งในขณะมีนํ้าหนักบรรทุกและไม่บรรทุก แรงดันภายในถุงลมจะถูกปรับโดยอัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ค่าการหดและยืดตัวของชุดรองรับนํ้าหนักแบบถุงลม
ค่าการยืดหรือหดตัวของถุงลม คือ ระยะที่บ่งบอกถึงความสามารถในการยืดและหดตัวในขณะใช้งานในสภาพที่แตกต่างกัน
- ระยะการหดตัว (In Bound) คือระยะที่ถุงหดตัวสูงสุดในขณะที่มีนํ้าหนักบรรทุกและไม่มีแรงดันลมในถุงลม (Laden Without Pressure)
- ระยะการหดตัว (Bump) คือระยะที่ถุงหดตัวสูงสุดในขณะที่ไม่มีนํ้าหนักบรรทุกและไม่มีแรงดันลมในถุงลม (Unladen Without Pressure)
- ระยะใช้งานปกติชุดรองรับนํ้าหนักแบบถุงลม (Ride Height)
ค่าการใช้งานปกติของชุดช่วงล่าง คือ ค่าที่ถูกกำหนดเพื่อการใช้งานรถในสภาวะปกติ รถจะถูกกำหนดค่าความสูงในขณะใช้งานทั้งในขณะที่มีนํ้าหนักบรรทุกและไม่บรรทุก
ค่าการยืดของชุดรองรับนํ้าหนักแบบถุงลม
ระยะการยืดตัว (Out Bound) จะบอกค่าการยืดตัวสูงสุดของถุงลมในขณะที่ถนนมีสภาพที่ต่างระดับมากเกินไป
การหาความสูงระบบรองรับนํ้าหนักถุงลมนั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบรถเพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง/ปลอดภัยและสอดคล้องกับข้อกำหนดของกำหนดของกฏหมายด้วย Ride Height (RH) ของรถจะแบ่งออกเป็น 2ลักษณะ คือ
Unladen Ride Height คือ ความสูงของรถที่วัดจากกึ่งกลางเพลามาที่ด้านล่างของคัสซีรถ จะทำการวัดในขณะที่ไม่มีนํ้าหนักบรรทุก
Laden Ride Height คือ ความสูงของรถที่วัดจากกึ่งกลางเพลามาที่ด้านล่างของคัสซีรถ จะทำการวัดในขณะที่มีนํ้าหนักบรรทุก
สิ่งที่ต้องรู้สำหรับการกำหนดขนาด Ride Height สำหรับรถเทรลเลอร์
ความสูงของอุปกรณ์ที่จะบรรทุก
ความสูงของหัวลาก โดยวัดจากพื้นดิน ถึง จุดสูงสุดของจานลากในแนวระนาบกับพื้นดิน
ความสูงที่วัดจากพื้นของจานลาก ถึง พื้นด้านบนที่วางอุปกรณ์
ความสูงด้านท้ายของตัวเทรลเลอร์ โดยวัดจากพื้นดิน ถึง จุดสูงสุดของพื้นที่ใช้วางอุปกรณ์ที่จะบรรทุกในแนวระนาบกับพื้นดิน
ความสูงของคัสซีหรือบีมที่ออกแบบสำหรับรถนั้นๆ
ขนาดของยางที่จะใช้งาน
อัปเดตข่าวสารกับสินค้าใหม่ๆ เกี่ยวกับอะไหล่รถบรรทุกอะไหล่รถพ่วง และรถเทรลเลอร์
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line: @wellinterparts
Facebook: WIP Well Interparts
留言