ระบบรองรับนํ้าหนักแบบถุงลมวีเวลเลอร์ (Weweler) เป็นระบบรองรับนํ้าหนักที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากเมื่อก่อนระบบนี้มักจะอยู่ในรถยนต์ขนาดใหญ่อย่างรถบัสโดยสารหรือรถไฟฟ้า จากคุณสมบัติเด่นในการรับนํ้าหนักมากและสามารถสร้างความนุ่มนวลในการขับขี่ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ รถยนต์ในปัจจุบันนี้ต่างก็หันมาใช้ช่วงล่างถุงลมกันมากขึ้น
ระบบช่วงล่างถุงลมวีเวลเลอร์ (Weweler) ได้รับการออกแบบและคิดพัฒนามาหลายสิบปี จนกลายเป็นช่วงล่างที่มีความทนทานและมีจุดที่ต้องซ่อมบำรุงต่ำ เช่นบู้ชเป็นแบบยางผสมพิเศษกับเหล็กทำให้ไม่ต้องอัดจารบีและมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องตรวจขันน็อตให้แน่นได้ตามค่าที่กำหนด เพื่อไม่ทำให้บู้ชเกิดการขยับตัวได้ในระหว่างการใช้งาน
จุดตรวจสอบชุดช่วงล่างถุงลมเบื้องต้น
1. ถุงลม ควรหมั่นตรวจสอบสภาพการใช้งานของถุงลมทุก 6 เดือน ถุงลมที่ดีไม่ควรมีรอยขีดข่วนลึกไปในเนื้อยาง, เนื้อยางหลุดล่อน, หรือผิวนอกเป็นขุย
ข้อควรระวัง: ห้ามเชื่อมหรือเจียรไปยังด้านบนของถุงลมโดยตรงเป็นอันขาด
2. โช้คอัพ ควรหมั่นตรวจสอบสภาพการใช้งานของโช้คอัพ ภายใน 2 สัปดาห์สำหรับรถใหม่ที่เริ่มวิ่ง และหลังจากนั้นทุกๆ 6 เดือน น็อตยึดจะต้องแน่นหนาและได้ค่าทอร์คตามที่กำหนด (550 Nm) กระบอกโช้คอัพต้องไม่มีการรั่วซึม หรือมีรอยแตกในกรณีที่มีหยดน้ำมาเกาะที่ผิวของกระบอกโช้ค ไม่ถือว่าเป็นโช้คที่เสีย เป็นปรากฎการณ์ปกติที่เกิดขึ้นตอนที่แกนโช้คอัพพยายามรีดน้ำมันให้เป็นฟิลม์บางๆมาเคลือบผิวด้านใน ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น หากมีข้อสงสัยมีการรั่วซึม ให้ทำความสะอาดโช้คอัพ และทำการตรวจสอบใหม่อีกครั้ง ภายใน 2 วันหลังจากการทำความสะอาด
3. สาแหรก ควรหมั่นตรวจสอบสภาพของน็อตยึดสาแหรก โดยเฉพาะภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังจากรถใหม่เริ่มวิ่ง และหลังจากนั้นทุกๆ 6 เดือน น็อตยึดจะต้องแน่นหนาและได้ค่าทอร์คตามที่กำหนดดังนี้
- M22 (SW32) = 600 Nm
- M24 (SW34) = 800 Nm
**สำหรับการขันประกอบครั้งแรก ให้ขัน 625Nm สำหรับ M22 และ 850Nm สำหรับ M24
4. น็อตยึดแหนบสปริง ควรหมั่นตรวจสอบสภาพของน็อตยึดแหนบสปริงโดยเฉพาะภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังจากรถใหม่เริ่มวิ่ง และหลังจากนั้นทุกๆ 6 เดือน น็อตยึดจะต้องแน่นหนาและได้ค่าทอร์คตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นควรตรวจสอบส่วนประกอบ อื่นๆดังนี้
- ปลอกเหล็กด้านในบู้ช จะต้องไม่เสียรูป
- ตรวจสอบการทำงานของบู้ช โดยการเคลื่อนรถไปมาเล็กน้อย แล้วดูว่าบู้ชขยับได้หรือไม่ หากขยับได้แสดงว่าบู้ชสึกและอาจทำให้น็อตยึดแหนบสปริงหลวมได้ ควรจะต้องดำเนินการแก้ไข เปลี่ยนทันท
- ตรวจสอบการสึกหรอของแผ่นเหล็กยึดบู้ช หากพบว่าบู้ชขยับได้ ควรทำการเปลี่ยนบู้ชและเต้ายึด
- ตรวจสอบค่าทอร์คของน็อตยึดแหนบสปริงที่ 1000 Nm
ข้อควรระวัง: ทุกครั้งหลังจากทำการถอดประกอบน็อตยึดแหนบสปริงจะต้องตั้งค่าศูนย์เพลาใหม่ทุกครั้งเช่นกัน
5. แผ่นยึดและฐานถุงลม ควรหมั่นตรวจสอบสภาพและความแน่นหนาของน็อตยึดถุงลมด้านบนและด้านล่าง โดยเฉพาะภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังจากรถใหม่เริ่มวิ่ง และหลังจากนั้นทุกๆ 6 เดือน รูปแบบการยึดและขนาดของน็อตอาจแตกต่างกันตามแต่ขนาดของถุงลมและระยะออฟเซ็ต ค่าทอร์คของน็อตยึดถุงลม มีดังต่อไปนี้
ค่าทอล์ค
- A: M12 (SW19) = 30 Nm
- B: M12 (SW19) = 50 Nm
- แผ่นเหล็กรองฐาน M12 (SW19) = 50 Nm
- แผ่นเหล็กรองฐาน M16 (SW24) = 200 Nm
6. ชุดยกถุงลม ควรหมั่นตรวจสอบสภาพภายนอกของถุงลม และความแน่นหนาของน็อตยึดถุงลมด้านบนและด้านล่าง โดยเฉพาะภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังจากรถใหม่เริ่มวิ่ง และหลังจากนั้นทุกๆ 6 เดือน
อัปเดตข่าวสารกับสินค้าใหม่ๆ เกี่ยวกับอะไหล่รถบรรทุกอะไหล่รถพ่วง และรถเทรลเลอร์
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Comments