top of page
Search
marketingwell

ระบบเบรกรถบรรทุก (Truck braking systems)


หน้าที่หลักของระบบเบรกรถบรรทุกคือหยุดหรือชะลอรถเพื่อรักษาความร็วให้คงที่ขณะแล่น ไม่ว่าจะเป็นทางราบหรือทางลาดชันรวมถึงการจอดรถ ระบบห้ามล้อหรือระบบเบรกรถบรรทุกถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับจานเบรก (Drum Brake) หรือดิสก์เบรก (Disc Brake) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้คู่กับจานเบรก เนื่องจากมีข้อดีในการใช้งานที่มากกว่า คือ มีพื้นที่หน้าสัมผัสการเบรกมาก โครงสร้างแข็งแรง ต้องการการบำรุงรักษาน้อยและมีราคาที่ถูกกว่าดิสก์เบรก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมในการนำไปติดตั้งและใช้งานกับรถบรรทุก เนื่องจากมีความสามารถในการชะลอความเร็วหรือหยุดรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากรถบรรทุกถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการบรรทุกน้ำหนักที่แตกต่างจากรถยนต์นั่งทั่วไป ระบบเบรกจึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีความแข็งแรงและเหมาะสมกับขนาดของรถบรรทุก นอกจากนี้การควบคุมการใช้งานจะต้องสามารถทำได้อย่างรวดเร็วคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูงสุด เบรกรถบรรทุกปัจจุบันถูกออกแบบวิธีการควบคุมการทำงานเป็น 3 ประเภทดังนี้


1. เบรกสุญญากาศ (Hydraulic) ไฮดรอลิค


2. เบรกลมดันน้ำมัน (Air Over Hydraulic)


3. เบรกลม (Full Air Brake)


ระบบเบรกสุญญากาศไม่นิยมใช้ในประเทศไทยเท่าไหร่นัก ทางเวลจึงจะมาอธิบายระบบเบรกดันน้ำมันและเบรกลมล้วนว่าเบรกทั้ง 2 มีความแตกต่างกันอย่างไร

ระบบเบรกลมดันน้ำมัน (Air over hydraulic system)

เป็นระบบเบรกแบบใช้แรงดันลมดันน้ำมันผ่านแม่ปั๊มเบรก ซึ่งระบบนี้ถูกออกแบบเพื่อใช้งานกับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมถึงอุปกรณ์หม้อลมเบรก (Brake booster) ที่นิยมใช้งานจะมีจำนวน 2 ชุดคือ ชุดหม้อลมเบรกควบคุมล้อหน้าและหม้อลมเบรกควบคุมล้อหลัง แต่ละชุดจะทำหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกไปยังล้อหน้าและล้อหลังตามชื่อ โดยจะรับคำสั่งพร้อมกันจากวาล์วเหยียบเบรก เพื่อดันแผ่นไดอะแฟรมไปข้างหน้าให้โดนลูกสูบในกระบอกแม่ปั๊มเบรก แม่ปั๊มจะสร้างแรงดันน้ำมันจ่ายผ่านท่อเบรกที่ปลายกระบอกไปยังล้อต่างๆ เพื่อส่งให้กระบอกเบรก (Wheel Brake Cylinder) รับแรงดันน้ำมันเบรก แล้วส่งผ่านแรงดันไปที่ลูกสูบเพื่อถ่างก้ามเบรกให้ขยายตัวจนสัมผัสกับจานเบรก โดยการควบคุมของคนขับรถ

***หมายเหตุ*** ชุดหม้อลมเบรก (Brake booster) จะติดตั้งใกล้กับถังลม ทำหน้าที่สร้างน้ำมันเบรกแรงดันสูงเพื่อส่งให้กับกระบอกเบรก กระบอกเบรก (Cylinder) จะติดตั้งอยู่ใกล้กับกระทะล้อ ทำหน้าที่ถ่างก้ามเบรกโดยรับแรงดันน้ำมันเบรกจากแม่ปั๊มเบรกมาดันลูกสูบให้ถ่างก้ามเบรก

ชุดหม้อลมเบรก (Brake booster) จะติดตั้งใกล้กับถังลมซึ่งทำหน้าที่สร้างน้ำมันเบรกแรงดันสูงและส่งให้กับกระบอกน้ำมันเบรก

ชุดหม้อลมคลัทช์ (Clutch booster) จะติดตั้งใกล้กับถังลม ทำหน้าที่สร้างน้ำมันเบรกแรงดันสูงอละส่งให้กับกระบอกน้ำมันเปลี่ยนเกียร์

ระบบเบรกลมล้วน (Full air brake system)

เบรกลม (Air power brake system) เป็นระบบเบรกที่ออกแบบเพื่อใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถพ่วง และรถหัวลาก หลักการทำงานของเบรกลมคือ ใช้แรงดันลมที่อัดจากปั๊มลมและใช้อุปกรณ์ควบคุมแรงดันให้ไหลผ่านไปยังหม้อลมเบรกเพื่อดันให้เพลาลูกเบี้ยวบิดตัว ผลจากการที่เพลาลูกเบี้ยวบิดตัวทำให้ฝักเบรกถ่างออกเพื่อต้านการหมุนของจานเบรก ซึ่งสามารถิธิบายวิธีการทำงานของเบรกลมได้ดังนี้

เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ ปั๊มลมซึ่งขับโดยเครื่องยนต์จะสร้างแรงดันลมอัดผ่านกาวานา เพื่อควบคุมแรงดันลมให้อยู่ระหว่าง 7.0 - 9.0 บาร์ จากนั้นลมจะไหลผ่านที่กรองดักความชื้นและเข้าไปบรรจุในถังลม

เมื่อเหยียบแป้นเบรก ลิ้นเหยียบเบรกจะเปิดทำให้ลมจากถังลมไหลผ่านลิ้นเหยียบเบรกไปดันแผ่นไดอะแฟรมในกระบอกเบรกให้เลื่อนไปข้างหน้า ผลจากการที่แผ่นไดอะแฟรมถูกดันให้เลื่อนไปข้างหน้าทำให้เพลาลูกเบี้ยวบิดตัวเพื่อถ่างฝักเบรกออกจนสัมผัสกับจานเบรก ความฝืดที่เกิดขึ้นระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกทำให้รถบรรทุกชะลอความเร็วหรือหยุดได้

เมื่อปล่อยแป้นเบรก ลิ้นวาล์วเบรกจะปิดเพื่อตัดไม่ให้ลมจ่ายไปดันแผ่นไดอะแฟรมในกระบอกเบรก ตำแหน่งนี้สปริงของกระบอกเบรกจะดันแผ่นไดอะแฟรมกลับสู่ตำแหน่งเดิมและทำให้เพลาลูกเบี้ยวบิดตัวกลับ ฝักเบรกที่ล้อถูกสปริงดึงกลับทำให้เกิดระยะห่างระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก ล้อรถบรรทุกจึงกลับมาหมุนได้เป็นปกติอีกครั้ง

ได้เห็นการทำงานของระบบเบรกรถบรรทุกทั้ง 2 แบบกันไปแล้วว่าการทำงานแบบไหนเป็นอย่างไร ทางเวลอินเตอร์พาร์ท ได้นำเข้าและจัดจำหน่ายวาล์วลมที่ใช้ในระบบเบรกภายใต้ชื่อ SORL (โซล) วาล์วลมเบรกอันดับ 1 ของจีน

เพื่อมาตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เป็นอะไหล่ทางเลือกที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการขนส่งให้กับธุระกิจของลูกค้าได้




อัปเดตข่าวสารและสินค้าใหม่ๆในวงการรถบรรทุก รถพ่วง และรถเทรลเลอร์ได้ที่ เวลอินเตอร์พาร์ท อะไหล่คุณภาพครบจบในที่เดียว

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Tel: 02-360-8841 ต่อ 202 หรือ 225


1,259 views0 comments

Comments


bottom of page