สำหรับรถที่มีระบบกันสะเทือนแบบแหนบเป็นอุปกรณ์รองรับนํ้าหนักของรถ โดยทำหน้าที่รับแรงกระแทกให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์เพลาล้อกับตัวรถ ในขณะที่รถวิ่งผ่านถนนที่ไม่เรียบ ส่วนมากระบบเพลาที่ใช้เป็น เพลากลมและเพลาเหลี่ยม ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มี 2 รูปแบบหลักที่เรียกว่า Underslung และ Overslung ซึ่งมีลักษณะการติดตั้งที่แตกต่างกัน โดยทั้งสองรูปแบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักและควบคุมการเคลื่อนไหวของช่วงล่างในรถบรรทุกพ่วงและกึ่งพ่วง
ระบบช่วงล่างแบบ Underslung
ลักษณะการติดตั้ง ในระบบนี้เพลาจะติดตั้งอยู่เหนือชุดแหนบสปริง ซึ่งหมายความว่าแหนบจะอยู่ใต้เพลา
ข้อดี:
- ให้ความเสถียรและความมั่นคงมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่บรรทุกน้ำหนักมาก
- ลดความสูงของพื้นบรรทุก ทำให้ง่ายต่อการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า
การใช้งาน นิยมใช้ในงานที่ต้องการให้พื้นบรรทุกอยู่ต่ำ หรือใช้ขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากแต่ต้องการให้การยกวัสดุขึ้น-ลงสะดวก
ระบบช่วงล่างแบบ Overslung
ลักษณะการติดตั้ง ในระบบนี้เพลาจะติดตั้งอยู่ ใต้แหนบสปริง ซึ่งหมายความว่าแหนบสปริงจะอยู่เหนือเพลา
ข้อดี:
- ให้ความยืดหยุ่นในการรองรับน้ำหนักและดูดซับแรงกระแทกได้ดี
- เพิ่มความสูงของรถ ทำให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการระยะห่างจากพื้นถนน
การใช้งาน นิยมใช้ในรถบรรทุกที่ต้องการความสูงเพิ่มขึ้น เช่น รถที่ใช้งานในพื้นที่ทุรกันดาร หรือต้องการความสูงจากพื้นถนนเพื่อป้องกันการกระแทก
อุปกรณ์เบื้องต้นของชุดช่วงล่างแบบ Underslung - Overslung ประกอบด้วย
เต้าแหนบหน้า-กลาง-หลัง
โตงเตงกลาง
แขนยึดเป็น-แขนยึดตาย
แหนบ
บู้ชโตงเตง-บู้ชแขนยึด
ประกับบน-หมอนรองแหนบ
สาแหรกยึดเพลา
สลักแขนยึด
สลักโตงเตง
ความต่างระหว่างการติดตั้งแบบ Underslung และOverslung
Underslung เหมาะกับงานที่ต้องการความสูงต่ำ เช่น การขนส่งสินค้าที่ต้องการการโหลดขนถ่ายสินค้าง่าย และการควบคุมการทรงตัวของรถเมื่อบรรทุกของหนัก
Overslung เหมาะกับงานที่ต้องการความสูงเพิ่มขึ้น เช่น งานขนส่งในพื้นที่ขรุขระที่ต้องการระยะห่างจากพื้นถนน
สำหรับการเลือกใช้งานระหว่าง Underslung และ Overslung จะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ของการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ซึ่งทั้ง 2 แบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปครับ
อัปเดตข่าวสารกับสินค้าใหม่ๆ เกี่ยวกับอะไหล่รถบรรทุกอะไหล่รถพ่วง และรถเทรลเลอร์
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line: @wellinterparts
Tel: 02-360-8841 ต่อ 202 หรือ 225
Facebook: WIP Well Interparts
Comments